ฟิล์มกรองแสง P.N. KOOL FILMS ตัวจริงเรื่องฟิล์มอาคาร

วิธีการเลือกฟิล์มให้เหมาะสม

ใครที่กำลังมองหาฟิล์มติดกระจกบ้าน หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกฟิล์มติดออฟฟิศ พร้อมกับจะมาตอบทุกข้อสงสัยให้ทุกท่านจากประสบการณ์ที่ทำงานในวงการณ์ฟิล์มกรองแสงมากว่า 10ปี ก่อนที่ทุกท่านจะเลือกฟิล์มกรองแสงบ้าน อาคาร ฟิล์มติดกระจกคอนโด อยากให้เข้ามาอ่านตรงจุดนี้ก่อน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์มากที่สุด เมื่อเราติดฟิล์มบ้านในแต่ละครั้ง ฟิล์มกรองแสงก็จะอยู่กับเราไปอีกอย่างน้อย 5-10 ปี 
รู้ประเภทของฟิล์มอาคาร : คุณลูกค้าต้องรู้ถึงความแตกต่างของฟิล์มกรองแสงติดอาคารในแต่ละประเภทก่อน ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มปรอท ฟิล์มดำ ฟิล์มใส ฟิล์มเซรามิก ต้องรู้คุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียให้ชัดเจน ที่สำคัญต้องอ่าน คุณสมบัติของฟิล์มกรองแสง เช่น ค่าลดความร้อนรวม (TSER) ค่าการป้องกันรังสียูวี (UVR) ค่าการป้องกันรังอินฟราเรด (IRR) เป็นต้น เพื่อจะได้เลือกใช้งานประเภทของฟิล์มอาคารได้อย่างเหมาะสม

รู้จักประเภทของฟิล์มอาคารและบ้าน

ประเภทของฟิล์มอาคาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. ฟิล์มปรอท คือ ฟิล์มกรองแสงที่เคลือบด้วยสารกันความร้อนประเภทโลหะ ทำให้เนื้อฟิล์มมีความมันวาว คล้ายกับกระจก เหมาะสำหรับบ้านชั้น 1 ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง มีข้อดี คือ กันความร้อนได้ดีมาก ราคาถูก สะท้อนแสงได้ดี ให้ความเป็นส่วนตัว แต่มีข้อเสีย คือ จะมีการสะท้อนแสงทำให้อาจจะรบกวนบ้านฝั่งตรงข้ามได้ และทัศนวิสัยเมื่อมองจากภายในไม่ชัดเจน เหมาะกับบ้านที่ต้องการฟิล์มกันแดดติดกระจกบ้านราคาถูก แต่กันร้อนได้ดี
  2. ฟิล์มดำ คือฟิล์มกรองแสงที่เคลือบด้วยสารต่าง ๆ ทำให้มีสีดำเข้ม สามารถป้องกันแสงสว่างได้ดี ลดรังสี UV และอาการแสบตา ถ้าจะติดฟิล์มดำ ต้องมั่นใจว่าติดฟิล์มดำที่ความเข้มที่เหมาะสม (40/60/80) ไม่เช่นนั้น ห้องก็จะมืดเกินไปได้ ซึ่งจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป
  3. ฟิล์มใส เป็นฟิล์มที่ใส แต่เน้นการป้องกันรังสีความร้อนโดยเฉพาะ ไม่บดบังทัศนวิสัย กันรังสีความร้อน รังสีUV ได้ดี เหมาะสำหรับร้านค้า ร้านอาหาร โชว์รูม ที่ต้องการโชว์ของหน้าร้าน แต่ถ้าจะเน้นกันร้อนสูง ฟิล์มใส แต่จะกันร้อนสู้ฟิล์มดำหรือฟิล์มปรอทไม่ได้
  4. ฟิล์มเซรามิค เป็นฟิล์มกรองแสงที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ใช้เทคโนโลยีนาโนเซรามิคในการเคลือบฟิล์มกรองแสง ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากใน 3-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นเรื่อง ดำเข้มจากภายนอก คมชัดจากภายใน หรือในบางครั้งเราก็เรียกฟิล์มประเภทนี้ง่าย ๆ ว่า “ฟิล์มดำนอกสว่างใน” ฟิล์เซรามิค สามารถกันความร้อนได้สูงมากอีกด้วย นั่นจึงทำให้ฟิล์มเซรามิค ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และยังเป็นที่นิยมสำหรับการติดฟิล์มบ้าน ฟิล์มคอนโดมากอีกด้วย เนื่องจากสะท้อนแสงน้อย สามารถติดได้ทุกที่ ราคาไม่สูงมาก

รู้ความเข้มฟิล์มติดอาคารที่ต้องการ 40/60/80

เนื่องจากฟิล์มกรองแสงมีให้เลือกหลากหลายความเข้ม ไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มเข้ม 40/60/80 และฟิล์มใส ซึ่งแต่ละความเข้ม เหมาะสำหรับห้องชนิดไม่เหมือนกัน และ ที่สำคัญต้องดูทิศทางของแสงแดดด้วยประกอบด้วย อาทิ

  • แนะนำความเข้มฟิล์มกรองแสงที่40% สำหรับ ห้องรับแขก ห้องทานข้าว หรือคอนโดสูง ทำให้ดูโปร่งสบาย ไม่อึดอัด
  • ฟิล์มกรองแสงความเข้ม 60% เหมาะสำหรับ ห้องที่อยู่ที่ทิศตะวันตก ที่แสงแดดเข้ามาตลอดทั้งบ่าย อาจจะต้องเลือกฟิล์มที่มาความเข้มกลาง ๆ เพื่อกันร้อนได้สูง
  • ฟิล์มติดกระจกบ้าน ความเข้ม 80% ผมแนะนำติดห้องนอน ที่อยากได้ความมืด ความเป็นส่วนตัว ไม่อยากให้แสงเข้ามาก 
  • ฟิล์มปรอทวันเวย์ ความเข้ม 80% เหมาะสำหรับ ห้องที่อยู่ชั้นล่างสุด ติดถนนหรือทางเดิน ไม่อยากให้ใครมองเข้ามาข้างในเห็น ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงสุด 

ติดฟิล์มติดกระจกบ้านจากบริษัทที่เชื่อถือได้

เนื่องจากในปัจจุบันมีบริษัทรับติดฟิล์มกันแดดติดกระจกบ้าน ให้เลือกใช้บริการอย่างหลากหลาย รวมถึงมีช่างรับติดฟิล์มติดกระจกบ้านในราคาถูกมากมาย ซึ่งหลายคนอาจสับสนว่า หากต้องการใช้บริการติดฟิล์มติดกระจกบ้านควรเลือกแบบไหนดี และจะรู้ได้อย่างไรว่าหากเลือกติดฟิล์มกรองแสงจากบริษัทนั้น ๆ จะมีความเชื่อถือได้จริง เรามีคำตอบกับคำถามนี้มาให้คุณ

  • เลือกบริษัทรับติดฟิล์มกระจกบ้าน ที่มีประสบการณ์

ดูจากผลงานการติดตั้งที่ผ่านมา และทีมงานที่ได้รับความไว้วางใจ รวมถึงมีประสบการณ์ในการรับงานใหญ่ ไม่เพียงแค่ติดบ้านและคอนโดเท่านั้น ที่สำคัญควรจะเลือกเป็นบริษัทจดทะเบียน ไม่ใช่แค่ช่างพรีแลนซ์ทั่วไป โดยเฉพาะช่างที่ไม่มีหน้าร้าน เพราะถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้ง คุณจะไม่สามารถตามมาแก้งานได้เลย

  • ไม่ทิ้งงาน

การทิ้งงานของช่างผู้รับเหมาเป็นปัญหาโลกแตกที่หลาย ๆ คนต้องพบเจอ ยิ่งถ้าติดตั้งกับช่างที่ขาดประสบการณ์ หลังจากติดฟิล์มไปแล้ว มักจะเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากการติดตั้งงานที่ไม่เรียบร้อย มีฝุ่นเยอะ แต่ตอนเรียกให้มาแก้ไขหรือให้มาเคลม ก็ไม่มา อ้างว่าเป็นเรื่องปกติบ้าง ในส่วนนี้เราสามารถดูรีวิว หรือจำนวนผลงานได้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

  • ใช้ฟิล์มกรองแสงแท้

เป็นข้อควรระวังสูงสุด!!! อันเนื่องมาจาก ลูกค้าไม่มีทางรู้ว่าฟิล์มติดอาคารที่ใช้นั้น เป็นของแท้หรือของปลอม โดยเฉพาะฟิล์มกรองแสงยี่ห้อดัง มักจะมีการปลอมแปลงฟิล์มกรองแสงกันบ่อยครั้ง ในหลาย ๆ ครั้ง บริษัทผู้ผลิต ก็พยายามจะสกรีนโลโก หรือรหัสลงในแผ่นฟิล์มกรองแสง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังสามารถปลอมแปลงได้อยู่ดี

ถ้าจะให้ดี ควรเลือกใช้บริการบริษัทติดฟิล์มกรองแสงหรือช่างที่ติดตั้ง ที่มีการใช้เครื่องวัด Spec ฟิล์ม ก่อนนำมาติดตั้งหน้างานด้วย เพื่อเทียบกับใน Spec ที่ระบุไว้ในโบรชัวร์หรือเว็บไซต์ รวมถึงบริษัทหรือช่างผู้ติดตั้งก็ยินดีให้ลูกค้าโทรไปสอบถามสำนักงานใหญ่ ว่ามีการซื้อขายกันจริงหรือไม่?

  • มีใบรับประกันฟิล์มติดอาคารโดยเฉพาะ

การรับประกันฟิล์มติดอาคารต้องมี “ใบรับประกันฟิล์มติดอาคาร” โดยเฉพาะ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการรับประกันประมาณ 5-10 ปี ที่สำคัญ คือ “ใบรับประกันฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ไม่สามารถทดแทนกันได้” ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องมาจากฟิล์มกรองแสง บริษัทผู้ผลิตจะไม่ได้เป็นคนรับผิดชอบในสิ่งนี้ แต่จะต้องเป็นผู้ติดตั้ง ที่ต้องมารับผิดชอบด้วยตนเอง

ต้องตรวจสอบหน้างาน ก่อนติดฟิล์มบ้าน

ก่อนติดฟิล์มกันแดดติดกระจกบ้าน อาคาร คอนโดนั้น ต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าสามารถติดฟิล์มกรองแสงบ้านได้หรือไม่ โดยมีปัจจัยที่ต้องพิจารณา ดังนี้

  1. มีเหล็กดัดบังหรือไม่? ถ้ามีเหล็กดัดบัง สามารถถอดได้หรือไม่ เนื่องจากการติดฟิล์มกระจกบ้านนั้น จำเป็นต้องถอดเหล็กดัดออกก่อนเพื่อคุณภาพการติดตั้งที่ดีที่สุด หรือในบางครั้ง ถ้าไม่สามารถถอดเหล็กดัดได้จริง ๆ ก็อาจจะสามารถติดได้เช่นกัน แต่อาจจะไม่เนียนเท่าไรนัก
  2. กระจกที่ต้องการติดฟิล์ม เป็นขอบกระจกประเภทไหน? ขอบกระจกมีหลายแบบ เช่น ขอบกระจกซิลิโคน ขอบกระจกอลูมิเนียม หรือเป็นขอบไม้ เราต้องเช็คและต้องแจ้งช่างก่อนติดตั้งว่าเป็นแบบไหน เนื่องมาจากขอบกระจกแต่ละชนิด จะต้องใช้เทคนิคในการติดที่ต่างกัน และใช้เวลาในการติดฟิล์มกระจกบ้านต่างกันด้วย
  3. ดูความสูงในการติดฟิล์ม ว่าสูงกี่เมตร? ถ้าสูงประมาณ 1-2 เมตร ก็สามารถใช้บันไดสูงได้ แต่ถ้าสูงเกิน 3 เมตรขึ้นไป ต้องใช้นั่งร้าน และต้องพิจารณาด้วยว่าใช้กี่ชั้น พื้นที่ติดตั้งอันตรายหรือไม่ ถ้าอันตรายมาก บางตำแหน่งอาจจะไม่สามารถติดตั้งฟิล์มกรองแสงได้
  4. ต้องมีการลอกฟิล์มเก่าก่อนหรือไม่? เพราะการลอกฟิล์มเก่า จะต้องใช้อุปกรณ์การลอกฟิล์มเก่า และจะต้องมีการใช้น้ำยาลอกฟิล์ม ที่ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าด้วย ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการติดตั้งฟิล์มกรองแสงอาคารก็จะสูงไปด้วยเช่นกัน
  5. มีงานก่อสร้างอื่น ๆ ทำอยู่หรือไม่? เช่น งานเฟอร์นิเจอร์ Build in งานปูกระเบื้อง งานเจาะต่าง ๆ จะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายในห้องสูง เนื่องจากการติดฟิล์มจะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่ปลอดฝุ่น เพราะฉะนั้น เราจึงแนะนำให้ลูกค้าติดฟิล์มกรองแสงอาคารเป็นรายการสุดท้ายในการแต่งเติมบ้านนั่นเอง

รีวิวผลงานติดตั้งฟิล์ม

คุณสามารถคำนวณราคาติดตั้งฟิล์มได้ด้านล่างนี้

พื้นที่กระจกติดตั้งฟิล์ม

ตารางฟุต

ราคาโดยประมาณ

เริ่มต้น ตารางฟุตละ 89฿ รวมติดตั้ง

รีวิวจากลูกค้า

ช่องทางติดต่อ

นัดวัดพื้นที่ประเมินราคาหน้างาน ฟรี!

สามารถผ่อน 0% ผ่านบัตรเครดิตได้

คลิกเลย